Phone

02-218-9696

Email

VetExhibition@chula.ac.th

เวลาทำการ

จันทร์ - ศุกร์: 9.00 - 16.00 น.

ชื่อสามัญ ฉลามหัวค้อน (Hammerhead shark)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Sphyrna lewini

แตกต่างไปจากปลาฉลามอื่น ๆ คือ มีส่วนหัวที่แบนราบและแผ่ออกข้างคล้ายปีกหรือแลดูคล้ายค้อนทั้งสองข้าง โดยมีดวงตาอยู่สุดปลายทั้งสอง ทำให้ปลาฉลามหัวค้อนมีประสาทสายตาดีกว่าปลาฉลามจำพวกอื่น ๆ มีรูจมูกที่แยกจากกันเพื่อประสิทธิภาพในการดมกลิ่น และยังสามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าแบบอ่อน ๆ เพื่อจับหาที่อยู่ของอาหารได้ด้วย มีข้อเสียคือ ไม่สามารถที่จะเห็นภาพหรือสิ่งที่อยู่ตรงหน้าในระยะใกล้ได้ มีสีลำตัวเป็นสีเทาอมน้ำตาลหรือสีเทาอมดำ ใต้ท้องเป็นสีขาว มีปากเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยวอยู่ด้านล่างส่วนหัว ออกลูกเป็นตัว โดยการผสมพันธุ์จะเกิดก่อนที่ตัวเมียจะตกไข่นานถึง 2 เดือน ตัวเมียจะเก็บน้ำเชื้อของตัวผู้ไว้ในต่อมสร้างเปลือกไข่ ซึ่งไข่จะเจริญมาจากรังไข่ข้างขวาซึ่งจะทำหน้าที่เพียงข้างเดียว ตัวอ่อนในมดลูกจะได้รับอาหารและออกซิเจนจากถุงไข่แดงและพู่เหงือก ซึ่งจะหายไปเมื่อโตขึ้น

ฉลามหัวค้อนสตัฟฟ์

จำนวน 1 ตัว

ที่มา: ทีมงานสตัฟฟ์ฯ ได้รับร่างมาจากภาคพยาธิวิทยาฯ และสยามโอเชี่ยนเวิล์ด